พฤติกรรมการใช้บริการธนาคารออนไลน์และปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการใช้บริการธนาคารออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • กฤษฎา ดิเรกวัฒนะ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร ภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
  • จุฑามาศ เสาร์แก้ว สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร ภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200

คำสำคัญ:

ธนาคารออนไลน์, พฤติกรรมลูกค้า

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการธนาคารออนไลน์ และปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการใช้บริการธนาคารออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 395 ตัวอย่าง ซึ่งได้มากจากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิแบ่งเป็นสัดส่วน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 4 กลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน และอาศัยอยู่ในหอพักนอกมหาวิทยาลัย ในด้านพฤติกรรมการใช้บริการพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้บริการธนาคารไทยพาณิชย์ ช่วงเวลาที่ใช้บริการมากที่สุดคือช่วงเวลาระหว่าง 12.00-18.00 น. โดยจำนวนเงินที่ใช้บริการในแต่ละครั้งเฉลี่ย 100-500 บาทต่อครั้ง ในส่วนของปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการใช้บริการธนาคารออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ปัจจัยด้านช่องทางการจำหน่ายเป็นปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.65 รองลงมาคือปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์มีค่าเฉลี่ย 4.57 ปัจจัยด้านราคามีค่าเฉลี่ย 4.47 และปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดมีค่าเฉลี่ย 4.02 ตามลำดับ

References

ชนม์นิกานต์ อ้อวิจิตร. (2550). พฤติกรรมการใช้บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตของลูกค้าธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/93932.pdf

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). รายงานข้อมูลระบบการชำระเงิน รายสองเดือน ฉบับที่ 18 (ธันวาคม, 2565). https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/th/research-and-publications/reports/payment-report/bi-monthly-report/Bi-monthly_report_Vol18-2022_December.pdf

ปิยพงศ์ ตั้งจินตนาการ. (2559). สถาบันการเงินในยุคดิจิตอล. https://www.gsb.or.th/gsbresearch/wp-content/uploads/2016/07/2IN_hotissue_Digital_bank_detail.pdf

วิชาดา ไม้เงินงาม และ สวรรยา ธรรมอภิพล. (2564). พฤติกรรมและการยอมรับเทคโนโลยีการใช้บริการธนาคารบนโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการกลุ่มเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์, 10(2), 63-69

สัจจาภรณ์ ไชยเสนา. (2560). พฤติกรรมความต้องการของผู้ใช้บริการ Mobile Banking ของธนาคารพาณิชย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5902031219_8044_6611.pdf

หัสบง รัตนโชติ. (2566). พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันธนาคารผ่านโทรศัพท์มือถือของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt16/6414991222.pdf

Fillgoods. (2564). Online banking ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการยุคปัจจุบันและอนาคต. https://www.fillgoods.co/payments/shop-paymentsonline-banking-electronic-for-future

Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-22

How to Cite

ดิเรกวัฒนะ ก., & เสาร์แก้ว จ. (2025). พฤติกรรมการใช้บริการธนาคารออนไลน์และปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการใช้บริการธนาคารออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ . ศวท : ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (LAS: Liberal Arts, Science and Technology), 2(1), 20–29. สืบค้น จาก https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science/article/view/3199