การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเพื่อให้ได้รับมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร : กรณีศึกษากลุ่มสินค้า OTOP ประเภทอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ในจังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • มาดีนา น้อยทับทิม
  • วรรษมน วัฑฒนายน
  • วิจิตรา เฉิดฉิ้ม
  • อาสลัน หิเล
  • สุพัฒน์ ศรีสวัสดิ์

คำสำคัญ:

สินค้า OTOP, จังหวัดนราธิวาส, ความปลอดภัยของอาหาร, มาตรฐานอาหาร, ผู้ประกอบการ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเพื่อให้ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหาร กรณีศึกษากลุ่มสินค้า OTOP ประเภทอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ในจังหวัดนราธิวาส  วิธีการดำเนินงานโดยการให้ความรู้ด้านทฤษฎีและการปฏิบัติตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหาร ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อปรับปรุงสถานที่ผลิตและกระบวนการผลิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ กลุ่มผู้ประกอบการผลิตอาหารฮาลาลในจังหวัดนราธิวาสที่ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ จำนวน 20 กลุ่ม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมการอบรมอยู่ในระดับดีมาก (4.59±0.10) ผลจากแบบประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม พบว่าหลังการอบรมกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนสูงกว่าก่อนการอบรมร้อยละ 95 สำหรับผลการประเมินความเป็นไปได้ของสถานประกอบการที่จะพัฒนามาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหารของกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้คัดเลือก 5 อันดับแรกที่ได้คะแนนสูงสุดจากการประเมินด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ เมื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลพร้อมทั้งแนะนำการปรับปรุงสถานที่ผลิตรวมถึงการจัดลำดับกระบวนการผลิตใหม่ พบว่า มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่พร้อมจะปรับปรุงสถานที่ผลิตและกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยของอาหาร ส่วนอีก 3 กลุ่มมีข้อจำกัดด้านงบประมาณในการปรับปรุงสถานที่ผลิตและกระบวนการผลิต ซึ่งหลังจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มได้ปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้วิจัยแล้ว พบว่ากลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่มได้รับการรับรองเครื่องหมาย อย. และอีกหนึ่งกลุ่มได้รับการรับรองเครื่องหมาย อย. และ Primary GMP (มาตรฐานการผลิตขั้นต้น)

References

Ouanlam, P., Morachart, C. & Jungmutipan, K. (2015). The Development of the Operational Capacity of the Non-Food Herbal One Tambon One Product (OTOP) Groups. Humanities and Social Sciences, 8(2), 207-238. (in Thai).

Chanchaichaovivat, C., Kirdtabtim, S. & Phornphisutthimas, S. (2020). Standards for Community Food Products. Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning, 10(1), 137-149. (in Thai).

Community Development Department Ministry of Interior. (2021). One Tambon One Product (OTOP). Retrieved March 2, from https://cep.cdd.go.th/ (in Thai).

Kamboj, S., Gupta, N., Bandral, J.D., Gandotra, G.& Anjum, N. (2020). Food safety and hygiene: A review. International Journal of Chemical Studies, 8(2): 358-368.

Narathiwat Community Development Office. (2021). Information of Operators Registered for OTOP. Retrieved January 10, from https://narathiwat.cdd.go.th/ (in Thai).

Ouanlam, P., Morachart, C. & Jungmutipan, K. (2015). The Development of the Operational Capacity of the Non-Food Herbal One Tambon One Product (OTOP) Groups. Humanities and Social Sciences, 8(2), 207-238. (in Thai).

Panghal, A., Chhikara, N., Sindhu, N. & Jaglan, s. (2018). Role of Food Safety Management Systems in safe food production: A review, Journal of food safety, 38(4), 1-11.

Rural and Local Consumer Health Products Promotion Protection Division. (2018). Summary of the Workshop Report for Development Potential of Staff and Entrepreneurs according to the Development of Production Sites and Community Health Products (OTOP) for Qualityand Standard, Fiscal Year 2018 Project. Nonthaburi: Thai Food and Drug Administration.

Sirintip, P. (2020). The Product Development of OTOP Entrepreneurs to Support Knowledge-Based Network in Surin Province. NRRU Community Research Journal,15(4), 28-37. (in Thai).

Supispan, V. & Chutira, R. (2012). Quality Development in Food Industry and Agricultural Processed Products (OTOP) at Nakhon Nayok Province. HCU Journal, 15(30), 89-105. (in Thai).

Tanyamai, J. (2012). The Problems and the Adaptation of OTOP to AEC. Executive Journal, 34(1), 177-191. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-04

How to Cite

น้อยทับทิม ม., วัฑฒนายน ว., เฉิดฉิ้ม ว., หิเล อ., & ศรีสวัสดิ์ ส. (2023). การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเพื่อให้ได้รับมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร : กรณีศึกษากลุ่มสินค้า OTOP ประเภทอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ในจังหวัดนราธิวาส. วารสารวิทยาศาสตร์ เกษตรและเทคโนโลยี, 1(1), 32–39. สืบค้น จาก https://li04.tci-thaijo.org/index.php/psj/article/view/1139