พฤกษศาสตร์พื้นบ้านและการกักเก็บคาร์บอนของต้นบินยา (Mangifera caesia Jack ) ในอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
คำสำคัญ:
บินยา, พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน, การกักเก็บคาร์บอนบทคัดย่อ
การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านและการกักเก็บคาร์บอนของต้นบินยา (Mangifera caesia Jack)
ในอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ประเทศไทย ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2561 ถึงเดือนกรกฎาคม 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของต้นบินยาในด้านการใช้ประโยชน์ของต้นบินยา ขนาดของต้นบินยาและผลบินยาในอำเภอยะรัง ความหลากชนิดของพืชพรรณในระบบนิเวศใต้ต้นบินยาและปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต้นบินยากักเก็บไว้ โดยใช้การสนทนากลุ่มกับประชาชน 3 ช่วงวัยได้แก่อายุ 0 - 30 ปี อายุ 31 - 55 ปี และอายุ 56 ปีขึ้นไปกลุ่มละ 10 คน และวางแปลงตัวอย่างขนาด 30 × 10 เมตร จำนวน 11 แปลง พบว่าต้นบินยาส่วนใหญ่อยู่ในระบบสวนบ้าน ซึ่งมีพืชพรรณหลากชนิด มีบางแปลงเป็นสวนยางพาราและป่าช้า โดยในบริเวณดังกล่าว ต้นบินยามักจะเป็นต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ผู้ใช้ประโยชน์จากต้นบินยาอายุระหว่าง 56 ปีขึ้นไป จะรู้จักการใช้ประโยชน์จากต้นบินยาในด้านการใช้ผลเป็นอาหารและการใช้ลำต้นเป็นเนื้อไม้มากที่สุด รองลงมาคือช่วงอายุ 30 - 55 ปี ขณะที่ผู้มีอายุน้อยกว่า 30 ปี จะมีผู้ที่รู้จักการใช้ประโยชน์ค่อนข้างน้อย โดยผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปจะมีความเชื่อเกี่ยวกับพิษของยางจากต้นบินยาซึ่งส่งผลให้เกิดอาการผิวหนังบวมพองและคัน ชื่อของต้นบินยาได้ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อชุมชนในอดีตและชื่อซอยในตำบลยะรัง งานวิจัยนี้มีต้นบินยาที่ศึกษาทั้งหมด 11 ต้น มีความสูงเฉลี่ย 37.22 เมตร (23.31 – 46.78) ทรงพุ่มมีความกว้างเฉลี่ย 17.12 เมตร (13.00 – 26.60)
และมีเส้นรอบวงที่ความสูงเพียงอกของลำต้นเฉลี่ย 289.09 เซนติเมตร (170.00 – 500.00) โดยมีความมากชนิด (Species richness) 3 – 17 ชนิด ค่าดัชนีความหลากชนิดพรรณไม้ Shonnon – Wiener ตั้งแต่ 0.6647 – 2.7260 ค่าความสม่ำเสมอของชนิดพรรณ (Pielou’s Evenness Index : E) ระหว่าง 0.5419 – 1.0330 ความหนาแน่น 0.11 (0.06 – 0.26) ต้นต่อตารางเมตร ความถี่ในการพบพรรณไม้แต่ละชนิด ร้อยละ 23.50 (2.00 – 100.00) และต้นบินยายังสามารถกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้เฉลี่ย 0.6354 (0.0843 - 1.6214) ตันคาร์บอน ต้นบินยาจึงเป็นทั้งต้นไม้ที่มีความเชื่อแฝงอยู่ มีผลที่รับประทานได้ มีประโยชน์จากเนื้อไม้และมีคุณค่าในการกักเก็บคาร์บอนในระบบสวนบ้าน
References
ชิงชัย วิริยะบัญชา (2553). ความสัมพันธ์ด้านความสูงของเรือนยอดหมู่ไม้กับปริมาณมวลชีวิภาพของป่าธรรมชาติและป่าปลูกเพื่อการประเมินการสะสมคาร์บอนในพื้นที่ ใน “การนำเสนอผลงาน วิจัยแห่งชาติ 2553 (Thailand Research Expo 2010) 26-30 สิงหาคม 2553. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืชกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ไซมอน การ์ดเนอร์, พินดา สิทธิสุนทร และก่องกานดา ชยามฤต. (2558). ไม้ป่าภาคใต้ เล่มที่ 1 (พรรณไม้วงศ์Acanthaceae ถึงวงศ์ Escalloniaceae). ม.ป.ท : กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช หอพรรณไม้
ธรรมนูญ เต็มไชย และ ทรงธรรม สุขสว่าง. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดแปลงตัวอย่างกับดัชนีความหลากหลาย:กรณีศึกษาป่าดงดิบชื้นในภาคตะวันออกและป่าเบญจพรรณในภาคตะวันตกของประเทศ ไทย. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์
เครือข่ายงานวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ประเทศไทย. มหาวิทยาลัยแม่โจ้. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ. (2544). ทรัพยากรพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3 : พืชที่ให้สีย้อมและแทนนิน.กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยวิทยศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.).
ส่วนพัฒนาวนศาสตร์ชุมชน สำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้. (2557). คู่มือการสำรวจการกักเก็บคาร์บอนและความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน.
สามารถ มุขสมบัติ และ ธัญนรินทร์ ณ นคร. (2538). การใช้ Spiegel Relascope เพื่อจัดสร้างตารางปริมาตรไม้ บริเวณป่าสาธิตเซคเตอร์แม่แหงอำเภองาว จังหวัดลำปาง. กลุ่มพัฒนาการจัดการป่าไม้และป่าสาธิต ส่วนวิจัยเศรษฐกิจและพัฒนาการจัดการป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
สำนักเศรษฐกิจป่าไม้ ส่วนส่งเสริมและพัฒนาการปลูกไม้เศรษฐกิจ กรมป่าไม้. (2563). คู่มือปฏิบัติงาน กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการปลูกไม้เศรษฐกิจ.
Chavan, B., & Rasal, G. (2012). Total Sequestered Carbon Stock of Mangifera indica. Journal of Environment and Earth Science, 2(1), 37 – 49.
Goon, A.T.J. & Goh, C.L. (2011). Plant dermatitis: Asian perspective. Indian J Dermatol, 56, 707-10.
IPCC. (2006). IPCC Guidelines For National Greenhouse Gas Inventories, Volume 4 Agriculture, Forestry and Other Land Use. IPCC National, Greenhouse Gas. Inventories Programme. Japan.
Ledesma, N. (2018). Distribution and Use of Mangifera caesia Jack. in Bali, Indonesia. Acta Horticulturae. 10.17660/ActaHortic. 2019. 1244.4.
Potapt. (2014). Map of Pattani province, Thailand, highlighting Amphoe Yarang.
Rai, I. N., Wijana, G., & Semarajaya, C. (2008). Identifikasi Variabilitas Genetik Wani Bali (Mangifera caesia Jack.) dengan Analisis Penanda RAPD. Journal of Horticulture, 18, 125 - 134.
Rai, I. N., Semarajaya, C.G.A, Wiraatmaja, I.W, Ni, K., & Alit A. (2013). Respon Pertumbuhan Bibit Wani Tanpa Biji (Jack var. Ngumpen Bali) pada Berbagai Komposisi Media Tumbuh. J. Hort. Indonesia, 4(2), 77 - 82.
Rai, I. N., Semarajaya, C.G.A., Wijana, G., Wiraatmaja, I.W., Astawa, N.G., & Astiari, N.K.A. (2016). Phenotypic, Genotypic Characters and Nutritional Value of Seedless Wani (Mangivera caesia Jack. var. Ngumpen Bali) (A Review). International Journal of Biosciences and Biotechnology, 3(1).
Waeyawiya. (2013). ประวัติบินยาลีมอ. ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม(ออนไลน์).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์ปรีดียาธร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์ เติมด้วยค่ะ