กายวิภาคของลำต้นและเส้นใยกระจูด (Lepironia articulata (Retz.) Domin)

ผู้แต่ง

  • สุทธิรัตน์ ขาวปากรอ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • พิชญา นิวาตบุตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

คำสำคัญ:

กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงเชิงประกอบ, เส้นใยจากการแยกเซลล์, การแช่ฟอก, ปริมาณเส้นใย, ลำต้น

บทคัดย่อ

                  การศึกษาลักษณะทางกายวิภาคของลำต้นและเส้นใยกระจูด โดยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงเชิงประกอบ พบว่าลำต้นของกระจูด มีรูปร่างกลม เซลล์ผิวเรียงตัว 1 แถว ชั้นคอร์เทกซ์ประกอบด้วยเนื้อเยื่อคลอเรนคิมาและเนื้อเยื่อสเกลอเรงคิมาเรียงเป็นระยะรอบลำต้น เซลล์สเกลอเรงคิมาเรียงตัวเป็นแถบติดกับเนื้อเยื่อผิว เป็นแนวยาวจากเนื้อเยื่อผิวถึงมัดท่อลำเลียงและล้อมรอบมัดท่อลำเลียง เนื้อเยื่อลำเลียงมีมัดท่อลำเลียงแบบท่อลำเลียงเคียงข้าง เรียง 1 แถว ขนานกับเนื้อเยื่อผิวมัดท่อลำเลียงมี 2 ขนาด ได้แก่ ขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ บริเวณใจกลางประกอบด้วยเนื้อเยื่อแอเรงคิมารูปแบบ hollow  เซลล์เส้นใยเดี่ยวมีรูปร่างเรียวยาว ส่วนปลายแหลม  ปริมาณเส้นใยกระจูดที่ได้จากการแช่ฟอกด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้นสูงจะทำให้ร้อยละปริมาณเส้นใยลดลง แต่การแช่ฟอกด้วยน้ำเป็นเวลา 10 สัปดาห์ ไม่สามารถแยกเส้นใยออกจากส่วนที่ไม่ใช่เส้นใยของลำต้นของกระจูดได้

References

Chonsakorn, S. (2015). Textile production technology from plant fibers Vol. 2: Retting technology. Textile Industry Development Institute, Bangkok. (in Thai)

Franklin, G.L. (1937). Permanent preparations of macerated wood fibres. Tropical Woods, 49, 21-22.

Kermanee, P. (2008). Techniques in plant tissue. Bangkok: Kasetsart University. (in Thai)

Luepong, K. Sasithorn, N. Manarungwit, K. (2011). Water hyacinth paper procuction for packaging. Faculty ofIndustry Education, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. (in Thai)

Metcalfe, CR. (1971). Anatomy of the Monocotyledon V. Cyperaceae. Great Britain: Oxford University Press.

Ratanakamnuan, U. (2014). Preparation of Biodegradable Modified Cellulose Films from Agricultural Waste under Microwave Energy. Maejo University. (in Thai)

Reddy, N. & Yang, Y. (2015). Innovative Biofibers from Renewable Resources. Springer, Berlin.

กมลหทัย พูลพงษ์. (2545). การวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบของ Fimbristylis Vahl (Cyperaceae) ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุษรา สร้อยระย้า ชมพูนุช เผื่อนพิภพ ดวงกมล ตั้งสถิตพร อัชชา ศิริพันธ์ และประพาฬภรณ์ ธีรมงคล. (2554). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากเส้นใยกล้วยสำหรับบรรณจุผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป. RMUTP Research Journal. 7, 9–24.

เปรมฤดี ดำยศ. (2556). การขยายพันธุ์และการอนุรักษ์พันธุกรรมกระจูด (Lepironia articulata (Retz.) Domin) ในพื้นที่ชุ่มน้ำพรุควนเคร็ง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วรนาถ ธรรมรงค์ และพิมพ์วดี พรพงศ์รุ่งเรือง. (2556). พืชวงศ์กกและวงศ์หญ้าในบริเวณนํ้าตกห้วยเข อุทยานแห่งชาตินํ้าพอง จังหวัดขอนแก่น. คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุทธิรัตน์ ขาวปากรอ กรรณิการ์ ธีระกิตติ์ธนากุล สมนึกลิ้มเจรญ สุนทร โต๊ะดำ อมลวรรณ ยอดรัก และปิยวรรณ ไกรนรา. (2563). ลักษณะกายวิภาคและเส้นใยของใบเตยหอมและเตยทะเล. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 25, 151-167.

อธิภัทร เงินหมื่น. (2556). ผลของความเค็มต่อลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ของพืชทนเค็มบางชนิดที่พบภายในพื้นที่นากุ้งทิ้งร้าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-26

How to Cite

ขาวปากรอ ส. ., & นิวาตบุตร พ. . (2024). กายวิภาคของลำต้นและเส้นใยกระจูด (Lepironia articulata (Retz.) Domin). วารสารวิทยาศาสตร์ปรีดียาธร, 3(2), 14–23. สืบค้น จาก https://li04.tci-thaijo.org/index.php/psj/article/view/2231