การทดสอบพฤกษเคมีเบื้องต้นและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม ของผลหลุมพี
คำสำคัญ:
หลุมพี, พฤกษเคมี , สารประกอบฟีนอลิกรวมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาพฤกษเคมีเบื้องต้นและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมของผลหลุมพี (Eleiodoxa conferta (Griff.) Burr) โดยทำการสกัด 2 วิธีคือ การสกัดแบบเย็นแบบแช่ (maceration method) ด้วยตัวทำละลายอินทรีย์คือไดคลอโรมีเทนและเมทานอล และ การสกัดแบบร้อนแบบไหลย้อนกลับ (reflux extraction) โดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย ผลการทดลองพบว่าสารสกัดหยาบจากเมทานอลมีปริมาณผลผลิตสูงสุด (% Yield) และสามารถละลายได้ดีในตัวทำละลายชนิดเดียวกัน นอกจากนี้ การวิเคราะห์พฤกษเคมีเบื้องต้นยังพบสารในกลุ่มเทอร์ปีนอยด์ ซาโปนิน คูมาริน และแอนทราควิโนน โดยเฉพาะในสารสกัดหยาบแบบไหลย้อนกลับ (reflux extraction) ด้วยน้ำ พบสารกลุ่มแทนนินและคาร์ดิแอคไกลโคไซด์เพิ่มเติม การวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมโดยวิธี Folin-Ciocalteu พบว่าสารสกัดหยาบแบบไหลย้อนกลับ (reflux extraction) ด้วยน้ำมีปริมาณฟีนอลิกรวมสูงสุด (12.34±0.18 มิลลิกรัม GAE/กรัม) รองลงมาคือสารสกัดหยาบชั้นเมทานอล (11.99±0.02 มิลลิกรัม GAE/กรัม) สรุปได้ว่าสารประกอบในผลหลุมพีส่วนใหญ่มีความเป็นขั้วสูง ซึ่งเหมาะสมสำหรับการศึกษาต่อในด้านคุณสมบัติทางชีวภาพและการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
References
Afriani, S., Idiawati, N., Destiarti, L. and Arianie, L. (2014). Uji aktivitas antioksidan daging buah asam paya (Eleiodoxa conferta Burret) dengan methanol DPPH dan tiosianat. Journal Kimia Khatulistiwa, 3(1), 49–56.
Ayoola, G. A., Coker, H. A. B., Adesegun, S. A., Adepoju-Bello, A. A., Obaweya, K., Ezennia, E. C. and Atangbayila, T. O. (2008). Phytochemical screening and antioxidant activities of some selected medicinal plants used for malaria therapy in southwestern Nigeria. Tropical Journal of Pharmaceutical Research, 7(3), 1019–1024.
Benmehdi, H., Hasnaoui, O., Benali, O. and Salhi, O. (2012). Phytochemical investigation of leaves and fruits extracts of Chamaerops humilis L. Journal of Materials and Environmental Science, 3(2), 320–327.
Chidambara Murthy, K. N., Singh, R. P. and Jayaprakasha, G. K. (2002). Antioxidant activity of grape (Vitis vinifera) pomace extracts. Journal of Agricultural and Food Chemistry, 50(25), 5909–5914.
Febrina, C., Sitorus, E., Wulansari, E. D. and Sulistyarini, I. (2014). Uji kandungan fenolik total dan aktivitas antibakteri ekstrak kulit buah asam paya (Eleiodoxa conferta Burret) terhadap Staphylococcus aureus. Media Farmasi indonesia, 15(2), 1617–1624.
Go, J. A. L., Khoo, K. S. and Sit, N. W. (2021). Nutritional composition, biological activities, and cytotoxicity of the underutilized fruit of Eleiodoxa conferta. Journal of Food Measurement and Characterization, 15(5), 3962–3972.
Pandey, A., and Tripathi, S. (2014). Concept of standardization, extraction, and pre-phytochemical screening strategies for herbal drug. Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry, 2(5), 115–119.
ณปภัช พิมพ์ดี. (2560). การละลาย (Solubility). คลังความรู้ SciMath ออนไลน์. เข้าถึงเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2467, จาก https://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/7178-solubility
ธวัช แสงสุวรรณ. (2556). ศึกษาคุณลักษณะของหลุมพีด้านพฤกษศาสตร์ ภูมินิเวศน์ เส้นทางจากป่าพรุถึงผู้บริโภคและมูลค่าทางเศรษฐกิจของผลหลุมพี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ลือชัย บุตคุป. (2555). สารประกอบฟีโนลิกและฤทธิ์ทางชีวภาพ. Journal of Science and Technology, Mahasarakham University, 31(4), 443–455.
วรวรรณ กิจผาติ, ณัฎฐินี อนันตโชค และสุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ. (2554). ไฟโตนิวเทรียน: คุณประโยชน์จากผักผลไม้. จุลสารข้อมูลสมุนไพร, 28(4), 1–8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์ เกษตรและเทคโนโลยี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์ เติมด้วยค่ะ