การศึกษาเปรียบเทียบแบบจำลองทางเศรษฐกิจของระบบการทำฟาร์ม แพะเนื้อร่วมกับกิจกรรมการเกษตรอื่นในจังหวัดสตูล
คำสำคัญ:
แบบจำลองทางเศรษฐกิจ , ระบบการทำฟาร์ม , แพะเนื้อบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จำแนกประเภทของระบบการทำฟาร์มที่มีการเลี้ยงแพะเนื้อ 2) เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนจากการเลี้ยงแพะของระบบการทำฟาร์ม และ 3) สร้างแบบจำลองทางเศรษฐกิจของระบบการทำฟาร์มครัวเรือนเกษตร ที่เลี้ยงแพะเนื้อในจังหวัดสตูล โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อตอบวัตถุประสงค์ทั้งหมด ในการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย และการจับฉลากแบบไม่ใส่คืน ได้กลุ่มตัวอย่าง 109 ครัวเรือน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การจัดกลุ่มเชิงชั้นเพื่อจำแนกประเภทระบบการทำฟาร์ม และใช้โปรแกรม OLYMPE วิเคราะห์แบบจำลองทางเศรษฐกิจ กลุ่มตัวอย่าง 15 ครัวเรือน ผลการวิจัยพบว่า ระบบการทำฟาร์มของครัวเรือนเกษตรที่มีการเลี้ยงแพะเนื้อในพื้นที่มีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ 1) ระบบการทำฟาร์มการเลี้ยงแพะเนื้อร่วมกับสวนยางพารา (G1) 2) ระบบการทำฟาร์มการเลี้ยงแพะเนื้อร่วมกับสวนปาล์มน้ำมัน (G2) และ 3) ระบบการทำฟาร์มการเลี้ยงแพะเนื้อร่วมกับสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน (G3) การวิเคราะห์แบบจำลองทางเศรษฐกิจระบบการทำฟาร์มช่วง 10 ปี ระหว่าง ปี พ.ศ. 2567-2576 พบว่า ระบบการทำฟาร์มการเลี้ยงแพะเนื้อร่วมกับสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน (G3) เป็นระบบที่น่าสนใจเนื่องจากมีรายได้สุทธิของฟาร์มสูงกว่าระบบอื่นที่มีการเลี้ยงแพะร่วมกับการเกษตรอื่น ๆ การวิเคราะห์แบบจำลองทางเศรษฐกิจโดยใช้ราคาคงที่ ในปี พ.ศ. 2567 ของ 15 ครัวเรือน สามารถจำแนกครัวเรือนเกษตรตามปริมาณผลผลิตเฉลี่ยที่จำหน่ายและรายได้สุทธิเฉลี่ยจากการเลี้ยงแพะ ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มที่มีปริมาณผลผลิตแพะที่จำหน่ายเฉลี่ยและรายได้สุทธิเฉลี่ยจากการเลี้ยงแพะระดับต่ำ 2) กลุ่มที่มีปริมาณผลผลิตแพะที่จำหน่ายเฉลี่ยและรายได้สุทธิเฉลี่ยจากการเลี้ยงแพะระดับปานกลาง และ 3) กลุ่มที่มีปริมาณผลผลิตแพะที่จำหน่ายเฉลี่ยและรายได้สุทธิเฉลี่ยจากการเลี้ยงแพะระดับสูง
ข้อเสนอแนะการพัฒนาระบบการทำฟาร์ม คือ ครัวเรือนเกษตรจำเป็นต้องมีการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะในพื้นที่เข้าด้วยกัน เพื่อช่วยเหลือ การผลิต การจัดการ และการตลาด เพื่อให้เกิดการเลี้ยงแพะที่ยั่งยืน และผสมผสานโดยการบูรณาการทั้งการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ การลดต้นทุนในการเลี้ยงแพะในสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน
References
กนกรส นัคเร. (2558). เปรียบเทียบความแตกต่างทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้เลี้ยงและไม่เลี้ยงแพะเนื้อ และการจัดการการเลี้ยงแพะเนื้อในอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
กรมปศุสัตว์. (2567). ยุทธศาสตร์กรมปศุสัตว์. กรุงเทพฯ: กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). การวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัว (พิมพ์ครั้งที่2). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชญาณี คงเกียรติจิรา. (2556). การผลิตและการตลาดแพะเนื้อใน อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นคร สาระคุณ, สมยศ สินธุรหัส และสุทัศน์ ด่านสกุลผล. (2541). วิเคราะห์พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในภาคใต้ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มงคล เทพรัตน์, มนต์ชัย ดวงจินดา และสมเกียรติ สายธนู. (2553). กลยุทธ์การปรับปรุงพันธุ์แพะของประเทศไทยเพื่อการผลิตอย่างยั่งยืน. แก่นเกษตร. 30 : 395-408.
ลัคน์วัณณ์ เมืองทองอ่อน. (2552). การวิเคราะห์ทางการเงินของการลงทุนทำฟาร์มเลี้ยงแพะนมในจังหวัดนนทบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิโชติ จงรุ่งโรจน์. (2557). ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสังคมของระบบการทำฟาร์มที่มีการปลูกพืชในสวนยางของเกษตรกรรายย่อยภาคใต้. [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล. (2562). เศรษฐกิจและท่องเที่ยว. http://www.satunpao.go.th/general_data.
อเนก กุณาละสิริ และพัชรินทร์ ศรีวารินทร์. (2550). ต้นทุนการผลิตยางระดับชาวสวน. ว. ยางพารา 28: 8-16.
Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). Tokyo, Japan: Jhon Weatherhill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์ เกษตรและเทคโนโลยี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์ เติมด้วยค่ะ