การยับยั้งแบคทีเรียและการต้านไบโอฟิล์มของแอคติโนแบคทีเรียจากดินตะกอนป่าชายเลน

ผู้แต่ง

  • ปวีณา สุขสอาด สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • รัชนี มิ่งมา ภาควิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมชีวภาพ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การต้านไบโอฟิล์ม, การยับยั้งแบคทีเรีย, ดินตะกอนป่าชายเลน, แอคติโนแบคทีเรีย

บทคัดย่อ

แอคติโนแบคทีเรียเป็นแบคทีเรียแกรมบวกที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สามารถต้านเชื้อก่อโรคต่าง ๆ ได้และยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มได้อีกด้วย ซึ่งไบโอฟิล์มของแบคทีเรียเป็นปัญหาสำคัญเนื่องจากสามารถเพิ่มความต้านทานต่อสารต้านจุลินทรีย์และทำให้เกิดการติดเชื้อในมนุษย์ได้ง่ายขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมการต้านแบคทีเรียและการยับยั้งการเกิดไบโอฟิล์มของแอคติโนแบคทีเรียที่แยกจากตะกอนดินป่าชายเลน ผลการทดลองพบว่าสามารถแยกแอคติโนแบคทีเรียได้ทั้งสิ้น 17 ไอโซเลท บนอาหาร starch casein (SC) agar ในจำนวนนี้มี 7 ไอโซเลท ที่สามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคได้อย่างน้อย 1 ชนิด ไอโซเลท KK22 และ KK27 มีประสิทธิภาพในการยับยั้ง Bacillus cereus และ Staphylococcus aureus ดีที่สุด ตามลำดับ คัดเลือกไอโซเลท KK27 นำมาทดสอบฤทธิ์การยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์ม พบว่าไอโซเลท KK27 ยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มของ S. aureus และ B. cereus คิดเป็น 30.0 และ 67.4 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเมื่อวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน 16S rDNA พบว่าไอโซเลท KK27 มีความใกล้เคียงกับ Streptomyces daghestanicus NRRL B-5418T 99.14 เปอร์เซ็นต์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-03