ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานข้ามชาติบริษัทผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ตกแต่งบ้านและสำนักงานแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • ศรัณยา ใบเตย สาขาวิชาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจและการบัญชี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140
  • อรรถวดี เข็มแก้ว สาขาวิชาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจและการบัญชี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140
  • จิรพัฒน์ รู้งาน สาขาวิชาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจและการบัญชี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140
  • วศินี มั่งชูพันธุ์ สาขาวิชาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจและการบัญชี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140
  • จุรีวรรณ จันพลา สาขาวิชาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจและการบัญชี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตในการทำงาน, แรงงานข้ามชาติ, ความสามารถในการปรับตัวในการทำงาน, ทักษะการสื่อสาร, สัมพันธภาพในที่ทำงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยความสามารถในการปรับตัวในการทำงาน ทักษะการสื่อสาร ความผูกพันต่อองค์การ สัมพันธภาพในที่ทำงาน และคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานข้ามชาติ 2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานข้ามชาติจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานข้ามชาติ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แรงงานข้ามชาติบริษัทผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ตกแต่งบ้านและสำนักงานแห่งหนึ่ง จำนวน 80 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบลำดับขั้น ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยความสามารถในการปรับตัวในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การ สัมพันธภาพในที่ทำงาน และคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานข้ามชาติโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนทักษะการสื่อสารโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) แรงงานข้ามชาติที่มีเพศและรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ปัจจัยสัมพันธภาพในที่ทำงานและทักษะการสื่อสารส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัยสัมพันธภาพในที่ทำงานและความสามารถในการปรับตัวในการทำงานส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านส่วนตัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยสัมพันธภาพในที่ทำงานส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24