ความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมสุขภาพช่องปาก พฤติกรรมการดูแลช่องปากของผู้ปกครองและสถานะสุขภาพช่องปากของบุตรปฐมวัยในโรงเรียนประถมศึกษาเทศบาลนครตรัง
คำสำคัญ:
ค่านิยมสุขภาพช่องปาก, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก, สถานะสุขภาพช่องปากบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมสุขภาพช่องปากและพฤติกรรมการดูแลช่องปากของผู้ปกครองกับสถานะสุขภาพช่องปากของบุตร ในโรงเรียนประถมศึกษาที่เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ปกครองเด็กเล็กจำนวนทั้งหมด 145 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ให้ กลุ่มตัวอย่างตอบเอง การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบ Chi-square ผลการศึกษา ร้อยละ 71.0 ของกลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาของเด็ก ประมาณครึ่งหนึ่งมีความเห็นว่าสถานะสุขภาพช่องปากของตนเองนั้นอยู่ในระดับ “พอใช้” และหนึ่งในสี่เห็นว่าอยู่ในระดับ “ดี” และร้อยละเท่ากันนี้มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานะสุขภาพช่องปากของบุตรของตน ร้อยละ 60 ของผู้ปกครองระบุว่าบุตรของตนเคยมีปัญหาฟันผุและปวดฟัน พบว่า ผู้ปกครองหนึ่งในสี่มีค่านิยมสุขภาพช่องปากในระดับ “สูง” ผลการตรวจสุขภาพ ช่องปากเด็ก ณ วันที่สัมภาษณ์ผู้ปกครองโดยรวบรวมข้อมูลจากการตรวจโดยทันตานามัยพบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กมีสุขภาพช่องปากในระดับ “ดี” ที่เหลือจะมีปัญหาที่ต้องดูแล พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างค่านิยมสุขภาพช่องปากกับตัวแปรด้านเพศ อายุ และพฤติกรรมการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครองที่เกี่ยวกับระยะเวลาการแปรงฟัน การบ้วนปากหลังรับประทานอาหาร การไปขูดหินปูนอย่างสม่ำเสมอ การไปรับบริการที่คลินิกทันตแพทย์ การหาความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก และสถานสุขภาพช่องปากของเด็กจากการตรวจ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นและความสำคัญของการพัฒนาความรอบรู้สุขภาพช่องปากของเด็กวัยก่อนเรียนให้กับพ่อ-แม่/ผู้ปกครองของเด็ก ความรอบรู้สุขภาพช่องปากและพฤติกรรมการดูแลช่องปากของพ่อ-แม่/ผู้ปกครองจะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่พ่อ-แม่/ผู้ปกครองจะให้กับเด็ก และสถานะสุขภาพช่องปากของเด็ก เทศบาลนครตรังและหน่วยงานที่รับผิดชอบ ศูนย์ดูแลเด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาล ควรจะได้หาวิธีการที่จะพัฒนาความรอบรู้ทันตสุขภาพให้กับพ่อ-แม่/ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กเล็กเพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีของเด็ก
References
เทศบาลนครตรัง. (2565-2567). รายงานการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในโรงเรียนประถมศึกษาในเขตรับผิดชอบของ ศูนย์บริการ สาธารณสุข 3. เทศบาลนครตรัง.
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2562, 9-11 พฤษภาคม). ความรอบรู้สุขภาพ: บทบาทของนักสุขศึกษา [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมวิชาการสุขศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 19 เรื่อง ฝ่าวิกฤติทางวิชาการและวิชาชีพสาธารณสุข, ชลบุรี, ประเทศไทย.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด.
Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50(2), 179-211. https://doi.org/10.1016/0749-5978(91)90020-T
Bloom, B. D. (Ed.). (1956). Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals. Handbook 1: Cognitive domain. David McKay Company.
Bronfenbrenner, U. (1979). The ecology of human development: Experiments by nature and design. Harvard University Press.
De Castilho, A. R. F., Mialhe, F. L., Barbosa, T. S. & Puppin-Rontani, R. M. (2013). Influence of family environment on children’s oral health: a systematic review. Journal de Pediatria, 89(2), 116-123. https://doi.org/10.1016/j.jpedp.2012.10.001
DeWalt, D. A., Berkman,N. D., Sheridon, S., Lohr, K. N., & Pignone, M. P. (2004). Literacy and health outcomes: a systematic review of the literature. Journal of General Internal Medicine, 19(12), 1228-1239. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15610334/
Edwards, C. B., Randall, C. L., & McNeil, D. W. (2021). Development and validation of oral health values scale. Journal of Dental Oral Epidemiology, 49(5), 454-463. https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC8518540/
Mattila, M. L., Rautawa, P., Silianpaa, M. & Paunio, P. (2000). Caries in five-year-old children and associations with family-related factors. Journal of Dental Research, 79(3), 875-881. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10765963/
Raths, L.E., Harmin, M. & Simon, S.B. (1978). Value and teaching: Working with values in the classroom (2nd ed.). C. E. Merrill Publishing Company.
Rokeach, M. (1973). The nature of human values. Free Press.
Smith, M. S., & Wallston, K. A. (1992). How to measure the value of health. Health Education Research, 7(1), 129-135. https://academic.oup.com/her/article-abstract/7/1/129/687164?redirectedFrom=PDF
World Health Organization. (2023). Oral health. https://www.who.int/health-topics/oral-health#tab_
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 ศวท : ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (LAS: Liberal Arts, Science and Technology)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.