การผลิตกระดาษจากเศษกระจูดผสมกระดาษเหลือทิ้งจากสำนักงาน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
คำสำคัญ:
กระจูด, กระดาษเหลือทิ้งจากสำนักงาน, ผลิตภัณฑ์ชุมชนบทคัดย่อ
กระจูดมีความสำคัญทางเศรษฐกิจของชุมชนทางภาคใต้ โดยมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น กระเป๋าสานจากกระจูด หลอดกระจูด และกระติบข้าวเหนียวจากกระจูด เป็นต้น จึงมีเศษวัสดุเหลือทิ้งจากการแปรรูปจำนวนมาก งานวิจัยนี้จึงศึกษาการผลิตกระดาษจากเศษกระจูดผสมกระดาษเหลือทิ้งจากสำนักงาน เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้วิธีต้มเยื่อทางเคมี เมื่อได้สูตรการทำกระดาษที่เหมาะสมแล้ว จะทำการทดสอบคุณสมบัติต่างๆของกระดาษ โดยศึกษาโครงสร้างทางสัณฐานวิทยาของกระดาษ น้ำหนักมาตรฐานของกระดาษ ความหนาของกระดาษ ความแข็งแรงของกระดาษ การดูดซึมน้ำของกระดาษ และการพองตัวทางความหนาของกระดาษ ผลการศึกษาพบว่าสูตรที่ดีที่สุดในการผลิตกระดาษคือ ตัวอย่างที่ 3 มีลักษณะโครงสร้างทางสัณฐานวิทยาที่มีความเหมาะสมและมีความแข็งแรงในการนำมาใช้ผลิตกระดาษ โดยมีค่าน้ำหนักมาตรฐานของกระดาษ 334.12 แกรม ความหนาแน่นของกระดาษ 283.15 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ค่าความต้านทานแรงดึง 8.18 นิวตัน การดูดซึมน้ำของกระดาษ 416.70 % และการพองตัวทางความหนาของกระดาษ 98.55 % ซึ่งสามารถนำผลิตภัณฑ์ไปต่อยอดในงานหัตถกรรมและบรรจุภัณฑ์สินค้าในท้องถิ่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อไปในอนาคตได้
References
Eriksson & K.E.L. (1990). Biotechnology in the pulp and paper industry. Wood Science and Technology, 24, 79-101.
Korpong, H. & Kwanjai, S. (2016). To improve physical and mechanical properties of decorative ornaments made from cement with the ratio of wasted paper. Bulletin of Applied ScienceS,5,5.
Lee, J.S., Parameswaran, B., Lee, J.P. & Park, S.C.. (2008). Recent Developments of Key Technologies on Cellulosic Ethanol Production. Journal of Scientific & Industrial Research, 67, 865-873.
Reshamwala, S., Shawky, BT., Dale & BE. (1995). Ethanol production from enzymatic hydrolysates of AFEX-treated coastal Bermuda grass and switch grass. Appl Biochem Biotechnol, 51-52, 43-55.
Soraya, S. (2014). Feasibility study of simple production of paper from fresh banana peels and residues from Ethanol fermentation. Chemical Engineering. Prince of Songkla University.
Thanyathorn, I. (2011). Study on the effect of plant fiber pulp quality on the floor printing system for packaging. Rajamangala University of Technology.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์ เติมด้วยค่ะ