การเปรียบเทียบผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการกำลังสองตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยวิธีการสอนแบบซิปปาโมเดลกับการสอนแบบปกติ

ผู้แต่ง

  • ไซดี บินดาโอ๊ะ
  • จิตติมา มานะการ
  • จารุวรรณ แดงโรจน์
  • โรสนี จริยะมาการ
  • นนทกร ประชุมกาเยาะมาต

คำสำคัญ:

วิธีการสอนแบบซิปปาโมเดล, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, สมการกำลังสองตัวแปรเดียว, คะแนนพัฒนาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการกำลังสองตัวแปรเดียว ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบซิปปาโมเดลกับการสอนแบบปกติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนดารุลฟุรกอน อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 6 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการสอนแบบซิปปาโมเดล เรื่อง สมการกำลังสองตัวแปรเดียวและแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องสมการกำลังสองตัวแปรเดียว ซึ่งดำเนินการทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Sample t-test) และหาค่าคะแนนพัฒนาการ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบซิปปาโมเดลมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการกำลังสองตัวแปรเดียวสูงกว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยโดยใช้วิธีการสอนแบบปกติที่ระดับนัยสำคัญ .01 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบซิปปาโมเดลมีคะแนนพัฒนาการอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเนื้อหา เรื่อง สมการกำลังสองตัวแปรเดียวรายข้อ พบว่า นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้ โดยการแยกตัวประกอบ กำลังสองสมบูรณ์และโดยใช้สูตรได้ เพราะนักเรียนสามารถตีความ โยงความสัมพันธ์ที่โจทย์กำหนดให้และสิ่งที่โจทย์ถามได้

References

ทิศนา แขมมณี. (2548). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง CIPPA MODEL. วารสารครุศาสตร์, 24(5). 1 – 30.

ปวริศา บุญจันทร์. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 1-202.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2562. สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ

สุพัตรา เพ็ชรกาแหง, ยุภาดี ปณะราช, เสาวนีย์ บุญทอ. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้CIPPA Model ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ทักษะการทํางาน เป็นทีม และเจตคติต่อคณิตศาสตร์

สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน : รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ “ครุศาสตร์ศึกษา ครั้งที่ 1 2018. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร. 798-807.

สุรีพร อนุศาสนนันท์. (2554). การวัดและการประเมินผลในชั้นเรียน. ชลบุรี. เกดกู๊ดครีเอชัน. 180.

เสฎฐวุฒิ ไกรศรีและสมจิตรา เรื่องศรี. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 1-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-04

How to Cite

บินดาโอ๊ะ ไ., มานะการ จ., แดงโรจน์ จ., จริยะมาการ โ., & ประชุมกาเยาะมาต น. (2023). การเปรียบเทียบผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการกำลังสองตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยวิธีการสอนแบบซิปปาโมเดลกับการสอนแบบปกติ . วารสารวิทยาศาสตร์ เกษตรและเทคโนโลยี, 1(2), 13–25. สืบค้น จาก https://li04.tci-thaijo.org/index.php/psj/article/view/1144