การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของมอร์แดนท์ยางกล้วยน้ำว้า (Musa sapientum L.) และคอปเปอร์ซัลเฟตในการย้อมสีจากเปลือกแก้วมังกร (Hylocereus polyrhizus) บนผ้าคอตตอน

ผู้แต่ง

  • Irfun Masaesai คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • โสรยา สาร๊ะ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • กรรณิการ์ ธีระกิตติ์ธนากุล Fuculty of Science and Technology, Rajamangala University of Technology Srivijaya
  • เดี่ยว สายจันทร์ Fuculty of Science and Technology, Rajamangala University of Technology Srivijaya

คำสำคัญ:

สารช่วยติดสีจากธรรมชาติ, การย้อมสี , เปลือกแก้วมังกร , ผ้าคอตตอน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาประสิทธิภาพในการย้อมสีของมอร์แดนท์ 2 ชนิด ได้แก่ ยางกล้วยน้ำว้า (Musa sapientum L.) ซึ่งเป็นมอร์แดนท์ธรรมชาติ และคอปเปอร์ซัลเฟต ซึ่งเป็นมอร์แดนท์สังเคราะห์ โดยนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับสารสกัดจากเปลือกแก้วมังกรพันธุ์เนื้อแดง (Hylocereus polyrhizus) ในการย้อมผ้าคอตตอน โดยเปรียบเทียบกระบวนการย้อม 2 แบบ คือ การใช้มอร์แดนท์ก่อนการย้อม (Pre-mordanting) และหลังการย้อม (Post-mordanting) การสกัดสีจากเปลือกแก้วมังกรใช้ตัวทำละลายที่มีขั้วแตกต่างกัน 4 ชนิด ได้แก่ น้ำกลั่น  กรดซิตริก 1% โซเดียมไฮดรอกไซด์ 1% และเมทานอล 80% พบว่าตัวทำละลายประเภท polar protic เช่น    เมทานอล มีประสิทธิภาพสูงในการละลายสารเบตาเลน ซึ่งเป็นสารสีหลัก จากการทดสอบวัดค่าความเข้มของสี (L*, a*, b*) และความคงทนของสีต่อการซัก พบว่าเมทานอล 80% ให้ผลการสกัดสีดีที่สุด และการใช้คอปเปอร์ซัลเฟตในกระบวนการ Pre-mordanting ให้ค่าความเข้มของสีและความคงทนสูงสุด แม้ว่ายางกล้วยน้ำว้าจะให้ผลด้อยกว่าเล็กน้อย แต่ยังคงเป็นทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของมอร์แดนท์ทั้งสองชนิดในการย้อมผ้าอย่างยั่งยืน

References

Batool, R., Shahid, M., Khan, M. A., & Shahid-ul-Islam. (2024). Application of natural and metallic mordants on cotton dyed with plant-based dyes. Journal of Natural Dyes, 12(1), 45–53.

Koushik, C. V., Ramesh, M., & Sinha, K. (2016). Natural dyeing of cotton fabric using fruit peels. Textile Research journal, 86(9), 958–968. https://doi.org/10.1177/0040517515594450.

Lazăr, A. L., Moldovan, Z., Tofana, M., & Bunea, C. I. (2021). Betalain extraction from red dragon fruit peel: Solvent effects and optimization. Food Chemistry, 337, 127776. https://doi.org/10.1016/j.foodchem.2020.127776.

Prabhu, K. H., & Teli, M. D. (2014). Eco-dyeing using natural mordant and natural dye. Indian Journal of Fibre & Textile Research, 39(1), 114–121.

Yadav, M., Patel, A., & Saxena, S. (2018). Sustainable dyeing of cotton using bio-mordants extracted from agro-waste. Journal of Cleaner Production, 187, 897–905. https://doi.org/10.1016/j.jclepro.2018.03.215.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-28

How to Cite

Masaesai, I., สาร๊ะ โ., ธีระกิตติ์ธนากุล ก. ., & สายจันทร์ เ. . (2025). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของมอร์แดนท์ยางกล้วยน้ำว้า (Musa sapientum L.) และคอปเปอร์ซัลเฟตในการย้อมสีจากเปลือกแก้วมังกร (Hylocereus polyrhizus) บนผ้าคอตตอน. วารสารวิทยาศาสตร์ เกษตรและเทคโนโลยี, 4(1), 27–36. สืบค้น จาก https://li04.tci-thaijo.org/index.php/psj/article/view/3556