ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยทำงาน จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการตรวจคัดกรอง, โรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง, สตรีวัยทำงานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยทำงาน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรอบรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและแรงจูงใจในการป้องกันโรคกับพฤติกรรมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยทำงาน และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยทำงาน กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีวัยทำงานในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 394 คน การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงบรรยาย ค่าไคสแควร์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยทำงานภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅ = 67.25) 2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านสถานภาพสมรสและอายุ ความรอบรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและแรงจูงใจในการป้องกันโรคมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยทำงาน และ 3) ความรอบรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและแรงจูงใจในการป้องกันโรคสามารถอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยทำงาน ได้ร้อยละ 57 (Adjusted R2 = 0.57, p-value <0.05) แนวทางพัฒนาคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิจัยไปวางแผนการส่งเสริมความรอบรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและสร้างแรงจูงใจในการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมเพื่อให้สตรีวัยทำงานมีพฤติกรรมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเองซึ่งจะส่งผลให้ความครอบคลุมในการโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยทำงานเพิ่มขึ้น
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2567). รายงานมาตรฐานข้อมูลสุขภาพ. http://hdcservice.moph.go.th
กองสุขศึกษา. (2556). คู่มือการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ขนิษฐา แสงคำ, สุมัทนา กลางคาร, ศิรภัสร์ โคตรสีวงษ์, และรุจิรา โนนสะอาด.. (2567). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการตรวจคัfกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองในผู้หญิงวัยผู้ใหญ่บ้านเขียบ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 10(3): 152-163.
คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2555). มะเร็งเต้านมเรื่องที่น่ารู้และข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม. ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.
ถนอมศรี อินทนนท์, และรุจิรา อ่ำพัน. (2567). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรี อายุ 30 –70 ปีในเขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุภาพตำบลบ้านปรือใหญ่ อำเภอขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ, 2(1), 113-124
ทิพวรรณ สมควร. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมของสตรีวัยเจริญพันธุ์ในจังหวัดลำปาง. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 18(1), 45-56.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, และพิศมัย เสรีขจรกิจเจริญ. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยทางการสาธารณสุข: กรณีศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร. จามจุรีโปรดักส์ จำกัด.
พาสนา จุลรัตน์. (2548). จิตวิทยาการศึกษา. ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ลักขณา ประมูลพงศ์ และคณะ. (2562). ความรู้และพฤติกรรมการตรวจเต้านมตนเองของสตรีไทยอายุ 30-70 ปี ในเขตบริการสุขภาพที่ 10. https://hpc10.anamai.moph.go.th/th/dbresearch-hpc10/download?id=106329&mid=37940&mkey=m_document&lang=th&did=37864
วิภารัตน์ ชุมหล่อ. (2567). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งเร็งเต้านมของสตรี อายุ 30-70 ปี ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแสงวิมาน ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. https://hpc11.anamai.moph.go.th/web-upload/36xdf1a160968c82a4ff9f703b4db4d757d/202108/m_news/34909/206091/file_download/c2cdc78ac3b6a8af0b590ac30a5aa490.pdf
ศิรกาญจน์ ฉันทเฉลิมพงศ์, พิมผกา ปัญโญใหญ่, และณยฎา ธนกิจธรรมกุล. (2566). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมของสตรีวัยทำงาน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 39(2), 68-80.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2560). แนวทางการตรวจคัดกรองวินิจฉัยและการรักษาโรคมะเร็งเต้านม. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2541). นิยามศัพท์ส่งเสริมสุขภาพ (ฉบับปรับปรุง). สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.
สุชาดา นนทะภา, และรุ้งระวี นาวีเจริญ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการป้องกันโรคกับพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมของครูในโรงเรียบประจำจังหวัด เขตภาคกลาง. วารสารการพยาบาลเกื้อการุณ, 24(2), 23-35.
อภิญญา กอเด็ม, ศศิกาญจน์ นิเฮาะ, และจรัญ เจริญมรรค(2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 30-70 ปี ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม, 2(3), 18-34.
อุบล เลียววาริน. (2534). ความสัมพันธ์ของการศึกษาที่มีต่อจิตลักษณะและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
Allen, L., & Santrock, J. (1993). Psychology: The contexts of behavior. William C. Brown.
American Cancer Society. (2024). Study Finds Early Palliative Care Remains Underused Among Patients With Advanced Cancer. https://pressroom.cancer.org/
Azita N., & Rahim T. (2011). Factors Influencing Breast Cancer Screening Behavior among Iranian Women. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention, 12(5), 1239-1244.
Bloom, A. (1979). The education of democratic man: Emile. Daedalus, 25(1), 135–153.
Kasl, S. V., & Cobb, S. (1966). Health behavior, illness behavior and sick role behavior. Archives of Environmental Health, 12(4), 246-266.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Prentice-Dunn, S., & Rogers, R. W. (1986). Protection Motivation Theory and preventive health: Beyond the Health Belief Model. Health Education Research, 1(3), 153–161.
Saeed Bashirian, Majid Barati, Leila Moaddab Shoar, Younes Mohammadi and Mitra Dogonchi. (2019). Factors
Affecting Breast Self-examination Behavior Among Female Healthcare Workers in Iran: The Role of Social Support Theory. Journal Prev Med Public Health, 52(4), 224–233.
World Health Organization. (2009). Milestones in health promotion: Statements from global conferences. World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2025 ศวท : ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (LAS: Liberal Arts, Science and Technology)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.